กรมการศาสนา
Content Creator

อาหารที่เหมาะสมสำหรับถวายพระ

ใส่บาตร อย่าลืมนึกถึงสุขภาพพระ

ในปัจจุบันที่สังคมเกิดความเร่งรีบ วิถีชีวิตเปลี่ยนเป็นวิถีชีวิตเมืองเพิ่มมากขึ้น ทำให้การเข้าวัดทำบุญกระทำได้ยากขึ้น ภาพการใส่บาตรที่สมัยรุ่นพ่อแม่ปู่ย่าตายาย นิยมหุงหาจัดเตรียมด้วยความประณีตเพื่อถวายต่อพระสงฆ์นั้นพบเห็นได้ยากขึ้น หากแต่ความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาของผู้คนในปัจจุบันยังคงอยู่อย่างเหนียวแน่น ทำให้รูปแบบการใส่บาตรปรับเปลี่ยนมาเป็นการซื้ออาหารที่ปรุงสำเร็จแล้วใส่บาตรแทน 

อาหารสำเร็จรูปหรือแกงถุงที่ขายตามท้องตลาดส่วนใหญ่มีการปรุงอาหารล่วงหน้า และมีการบรรจุถุงเพื่อเตรียมจำหน่ายในระยะเวลานาน ทำให้คุณภาพอาหารเสื่อมลง หรือเกิดการบูดเน่าโดยทั้งผู้ค้า และผู้ใส่บาตรไม่ทราบ เมื่อพระภิกษุกลับถึงวัดทำให้อาจไม่ได้ฉัน หรือก่อให้เกิดการอาพาธได้ นอกจากนั้นการปรุงอาหารเพื่อจำหน่ายในปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็นอาหารมีรสชาติหวาน มัน เค็ม ทำให้เมื่อพระสงฆ์ฉันอาหารเหล่านี้เป็นระยะเวลาต่อเนื่องยาวนาน ย่อมส่งผลถึงสุขภาพของพระสงฆ์ได้

ใส่ใจ รับผิดชอบต่อสุขภาพพระสงฆ์ไทย

นับตั้งแต่อดีตเป็นต้นมา ในสังคมไทย การจัดเตรียมอาหารอย่างประณีต เพื่อถวายแด่พระสงฆ์เป็นสิ่งที่มีความสำคัญ มีการสืบทอดแนวคิด และการปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่องยาวนานจากรุ่นสู่รุ่น แต่ปัจจุบันสถานการณ์ความเร่งรีบ และวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้คนไทยขาดความตระหนัก และใสใจในความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติต่อพระสงฆ์ โดยเฉพาะการถวายอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ ดังนั้น วินัยและความรับผิดชอบ จึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะหน้าที่ของการเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีนั้น นอกจากต้องปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาแล้ว ยังต้องมีการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม โดยการตักบาตรตามกำลังของตน ซึ่งต้องมีความรับผิดชอบต่อพระสงฆ์ในปัจจัยที่นำมาถวาย เช่น ถวายอาหารที่มีคุณภาพ ถูกหลักอนามัย ซึ่งเป็นการสนับสนุนให้พระสงฆ์มีสุขภาพที่ดีได้

เมนูสุขภาพพระสงฆ์

จากกระแสความห่วงใยในสุขภาพพระสงฆ์ส่งผลให้หลายหน่วยงานได้มีการดำเนินงานและร่วมกันดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพพระสงฆ์ร่วมกัน เช่น การเสนอเมนูทางเลือกด้านสุขภาพพระสงฆ์ โดยกระทรวงสาธารณสุข มีตัวอย่างเมนูอาหารเพื่อสุขภาพที่แนะนำไว้ ๕ เมนู คือ

เมนูที่ ๑ ข้าวกล้อง ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดไขมันและน้ำตาลในเลือด

เมนูที่ ๒ น้ำพริกอ่อง มีส่วนประกอบของมะเขือเทศ ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันและช่วยบำรุงสายตา

เมนูที่ ๓ แกงส้มมะรุม ฝักมะรุมช่วยลดความดันโลหิต ลดไขมันในเส้นเลือดและป้องกันโรคมะเร็ง

เมนูที่ ๔ ถั่วเขียวต้มน้ำขิง ช่วยซับสารพิษในตับ และขับลมในกระเพาะอาหาร

เมนูที่ ๕ ผลไม้สด ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติ และควรเลือกถวายน้ำดื่มที่ได้มาตรฐานมีเครื่องหมายการรับรองคุณภาพจาก อย. และ มอก.

ใส่ใจ รับผิดชอบต่อสุขภาพพระสงฆ์ไทย

นับตั้งแต่อดีตเป็นต้นมา ในสังคมไทย การจัดเตรียมอาหารอย่างประณีต เพื่อถวายแด่พระสงฆ์เป็นสิ่งที่มีความสำคัญ มีการสืบทอดแนวคิด และการปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่องยาวนานจากรุ่นสู่รุ่น แต่ปัจจุบันสถานการณ์ความเร่งรีบ และวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้คนไทยขาดความตระหนัก และใสใจในความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติต่อพระสงฆ์ โดยเฉพาะการถวายอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ ดังนั้น วินัยและความรับผิดชอบ จึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะหน้าที่ของการเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีนั้น นอกจากต้องปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาแล้ว ยังต้องมีการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม โดยการตักบาตรตามกำลังของตน ซึ่งต้องมีความรับผิดชอบต่อพระสงฆ์ในปัจจัยที่นำมาถวาย เช่น ถวายอาหารที่มีคุณภาพ ถูกหลักอนามัย ซึ่งเป็นการสนับสนุนให้พระสงฆ์มีสุขภาพที่ดีได้

แม้เราจะปฏิเสธไม่ได้ว่าภาวะความเป็นเมืองที่แผ่ขยายในหลายพื้นที่ จะสร้างผลกระทบต่อวิถีชีวิตของผู้คนในหลากหลายมิติ แต่พระสงฆ์ผู้เลี้ยงชีพด้วยการบิณฑบาต ซึ่งไม่สามารถเลือกได้ว่าในบาตรนั้นจะมีอาหารประเภทใด ก็เป็นส่วนหนึ่งของผลกระทบจากวิถีชีวิตที่เร่งรีบของพุทธศาสนิกชนสมัยใหม่ แม้ในกระบวนการตระหนักและแก้ไขปัญหาจะเกิดขึ้นในหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคเอกชน หากแต่เมื่อมองลึกลงไปในรากของปัญหา ยังคงกลับมาอยู่ที่พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ทั้งที่เป็นผู้ค้าอาหารใส่บาตร ที่จะพึงใส่ใจปรุงและนำอาหารสดใหม่ มีคุณค่าทางโภชนาการมาเป็นทางเลือกให้แก่ผู้ใส่บาตร ไม่นำอาหารบูดเน่าหรือเสื่อมคุณภาพมาจำหน่าย ในขณะที่ผู้ใส่บาตร พึงใส่ใจและพินิจอาหารอันประณีต ในการใส่บาตรพระสงฆ์ครั้งต่อไป