อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

ค้นพบโดย

ไปเที่ยวกันมั้ย

0

ที่ตั้ง

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ประกอบด้วย เทือกเขาสลับซับซ้อนกัน ได้แก่ เขาร่ม ซึ่งเป็นยอดเขาสูง 1,351 เมตรจากระดับน้ำทะเล รองลงมาได้แก่ เขาแหลม 1,326 เมตร , เขาเขียว 1,292 เมตร , เขาสามยอด 1,142 เมตร และเขาฟ้าผ่า 1,078 เมตร ด้านทิศเหนือและตะวันออกพื้นที่จะลาดลง ทิศใต้และตะวันตกเป็นที่สูงชัน อันเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารที่สำคัญ 5 สาย ดังนี้ - แม่น้ำปราจีน และแม่น้ำนครนายก อยู่ทางทิศใต้ของพื้นที่ มีความสำคัญต่อเกษตรกรรมและระบบทางเศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาคนี้ แม่น้ำทั้งสองจะมาบรรจบกันเป็นแม่น้ำบางปะกง - ลำตะคอง และลำพระเพลิง อยู่ทางทิศเหนือไหลไปหล่อเลี้ยงพื้นที่เกษตรกรรมของที่ราบสูงโคราช ไปบรรจบกันเป็นแม่น้ำบางปะกง - ห้วยมวกเหล็ก อยู่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ใช้ประโยชน์ด้านการเกษตร โดยเฉพาะการปศุสัตว์ของภูมิภาคนี้ ไหลลงสู่แม่น้ำป่าสักที่อำเภอมวกเหล็ก อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่มีสภาพป่าที่รกทึบ และได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมทำให้เกิดฝนตกชุกตามฤดูกาล อากาศไม่ร้อนจัด และหนาวจัดจนเกินไป เหมาะแก่การท่องเที่ยวและประกอบกิจกรรมนันทนาการชนิดต่างๆ อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดอยู่ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม ประมาณ 28 องศาเซลเซียส ในเืดือนธันวาคมและเดือนมกราคม มีอุณหภูมิประมาณ 17 องศาเซลเซียส และมีความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เท่ากับ 66 เปอร์เซ็นต์ - ฤดูร้อน : แม้ว่าอากาศจะร้อนอบอ้าวกว่าในที่อื่น แต่ที่เขาสูงบนเขาใหญ่อากาศเย็นสบายเหมาะแก่การพักผ่อน - ฤดูฝน : เป็นช่วงที่สภาพธรรมชาติ ป่าไม้ และทุ่งหญ้าเขียวขจี สวยงาม น้ำตกต่างๆจะมีสายน้ำที่ไหลหลากและเชี่ยวกราก - ฤดูหนาว : ช่วงเดือนตุลาคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์ เป็นฤดูที่นักท่องเที่ยวมากที่สุด อากาศค่อนข้างเย็น โดยเฉพาะบริเวณเขาสูง ปริมาณน้ำฝน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ วัดได้ 2,270 มิลลิเมตร ที่บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ พื้นที่ที่ได้รับปริมาณน้ำฝนมากที่สุดอยู่บริเวณลุ่มน้ำคลองท่าด่าน ซึ่งเป็นบริเวณด้านทิศใต้ของเขาเขียวและเขาร่ม โดยวัดปริมาณน้ำฝนได้ถึง 3,000 มิลลิเมตรต่อปี ส่วนบริเวณที่รับน้ำฝนน้อยที่สุดคือ พื้นที่ด้านล่างสุดของทิศตะวันตกเฉียงใต้และทิศใต้ โดยมีฝนตกเฉลี่ยต่อปี 1,600 มิลลิเมตร หรือน้อยกว่า โดยปกติฝนจะตกมากที่สุดระหว่างกลางเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ส่วนช่วงที่ปริมาณน้ำฝนน้อยที่สุด คือ ระหว่างเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม โดยมีปริมาณฝนตกเฉลี่ยประมาณเดือนละ 15 มิลลิเมตร ป่าไม้ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1,229,789.63 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 91.47 ของพื้นที่ มีพันธุ์ไม้จำนวนมากถึง 2,000 - 3,000 ชนิด ทั้งนี้เพราะพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่มีขนาดใหญ่ เป็นจุดรวมการแพร่กระจายพันธุ์ของพืชต่างๆ มีความหลากหลายของชนิดพรรณพิชดังนี้ - พรรณไม้ จำนวน 209 ชนิด - กล้วยไม้ จำนวน 120 ชนิด - ไลเคน จำนวน 108 ชนิด 1. ป่าดิบเขา (Hill Evergreen Forest) อยู่ในที่ที่มีอากาศเย็น สูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไป พบที่บริเวณเขาเขียว วึ่งอยู่ตอนกลางของอุทยาน มีพื้นที่ประมาณ 21,938.71 ไร่ หรือร้อยละ 1.63 ของพื้นที่ป่าทั้งหมด ไม้ที่พบเป็นไม้เนื้ออ่อน เช่น พญาไม้ มะขามป้อมดง ขุนไม้ และสนสามพันปี มีไม้จำพวกก่อขึ้นอยู่ด้วย ได้แก่ ก่อน้ำ และก่อด่าง ตามสันเขายังพบพรรณไม้พวกกำลังเสือโคร่ง ไม้ชั้นรองของป่าดิบเขาประกอบด้วย เก็ดส้าน ส้มแปะ แกนมอ เพลาจังหัน และหว้า พืชชั้นล่างเป็นพวกไม้พุ่มชนิดต่างๆ เช่น กาลังกาสาตัวผู้ นอกจากนี้ยังมีกูด และกล้วยไม้ดินหลายชนิด ตามลำต้นและกิ่งก้านของต้นไม้ป่าดิบเขา จะถูกปกคลุมด้วย กล้วยไม้ และตะไคร่น้ำต่างๆ 2. ป่าดิบชื้น (Moist Evergreen Forest) อยู่ในระดับความสูง 400 - 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล ครอบคลุมพื้นที่มากที่สุดของอุทยาน คือ 892,162.48 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 66.36 ของพื้นที่ป่าทั้งหมด ริมลำธารจะมีหวายและเฟิร์นขึ้นอยู่เป็นกลุ่ม สูงขึ้นไปจะมีไม้ยาง และไม้ชั้นบน เช่น เคี่ยมคะนอง ปรก บรมือ ไม้ชั้นรอง ได้แก่ ก่อต่างๆ 3. ป่าดิบแล้ง (Dry Evergreen Forest) อยู่ในระดับความสูง 200 - 600 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีพื้นที่ประมาณ 1,192.88 ไร่ หรือร้อยละ 0.9 ของพื้นที่ป่าทั้งหมด ไม้ชั้นบน ได้แก่ ยางนา พันจำ เคี่ยมคะนอง ตะเคียนทอง ตะเคียนหิน ตะแบกใหญ่ สมพง สองสลึง ปออีเก้ง เป็นต้น ไม้ยืนต้นชั้นรอง เช่น กะเบากลัก กัดลิ้น พืชจำพวกปาล์ม เช่น หมากลิง และลาน พืชชั้นล่างประกอบด้วย มะพร้าว นกคุ้ม พวกขิง ข่า และเตย เป็นต้น 4. ป่าเบญจพรรณ (Mixed Deciduous Forest) พบในระดับความสูงประมาณ 400 - 600 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีพื้นที่โดยประมาณ 185,275.91 ไร่ หรือร้อยละ 13.78 ของพื้นที่ป่าทั้งหมด ปรากฏส่วนใหญ่ในทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประกอบด้วยไม้ยืนต้นผลัดใบ เช่น มะค่าโมง ประดู่ ตะแบก ตะเคียนหนู แดง เป็นต้น พืชชั้นล่างมี ไม้ไผ่ และหญ้าต่างๆ ตามพื้นป่าจะมีหินปูนผลุดขึ้นทั่วๆไป ในฤดูแล้งป่าชนิดนี้จะมีไฟไหม้ลุกลามอยู่เสมอ จะสังเกตได้จากมีไผ่ป่า เป็นปริมาณมากตามลาดเขาและกล้วยป่าขึ้นหนาแน่นตามหุบห้วย 5. ป่าเต็งรัง ขึ้นอยู่บนเขาสมอปูน ที่มีลักษณะเป็นที่ราบบนสันเขาผสมพลาญหิน พรรณพืชที่สำคัญ ได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง และยางกราด 6. ทุ่งหญ้าและป่ารุ่นสอง มีพื้นที่ประมาณ 70.15 ไร่ และ 129,219.65 ไร่ ตามลำดับ สภาพป่าเช่นนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากการทำไร่เลื่อนลอยในอดีต เพราะก่อนหน้าที่จะมีการประกาศพื้นที่นี้เป็นอุทยานแห่งชาติ ได้มีประชาชนอพยพขึ้นไปอาศัยอยู่ จึงได้เกิดสภาพป่าเช่นนี้ขึ้น ตามทุ่งหญ้านั้นพืชส่วนใหญ่เป็นหญ้าคา มีหญ้าแขม หญ้ากง หญ้าผลตาช้าง และหญ้าโขมงขึ้นแทรก นอกจากนี้ก็มีผีกกูดบางชนิดที่ชอบขึ้นตามบริเวณที่ถูกไฟไหม้เป็นประจำ เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังจากที่ได้ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติมาได้เป็นเวลากว่า 10 ปีนั้น ทุ่งหญ้าบางแห่งที่ได้ป้องกันไม่ให้ไฟลามเข้ามาไหม้นั้น ได้กลับฟื้นขึ้นมาเป็นสภาพป่าละเมาะ ซึ่งในกาลต่อไปย่อมจะฟื้นกลับขึ้นเป็นป่าได้ดังเดิม สำหรับตามสองข้างถนนนั้น เนื่องจากไม่มีการก่อสร้างขยายวงออกไป จึงได้มีพันธุ์ไม้โตเร็วชนิดต่างๆ ขึ้นปกคลุม เช่น ไม้ตองแตม และปอหู เป็นต้น ส่วนในด้านของสังคมสัตว์ ด้วยสภาพป่าที่มีความหลากหลาย เป็นแหล่งพักพิงอาศัย และแหล่งอาหาร อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่จึงชุกชุมไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด ดังนี้ 1. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีประมาณ 71 ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบเห็นได้บ่อยและเป็นที่ดึงดูดใจนักท่องเที่ยว ได้แก่ ช้างป่า เก้ง กวาง เป็นต้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ และเป็นชนิดที่สำคัญของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ได้แก่ ช้างป่า เสือโคร่ง เสือลายเมฆ กระทิง ชะนีมือขาว และชะนีมงกุฎ เป็นต้น ช้างป่า เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สำคัญมากชนิดหนึ่งของเขาใหญ่ และเป็นที่สนใจของบรรดานักท่องเที่ยวผู้มาเยือนเป็นอย่างมาก มักพบอยู่เป็นโขลง โขลงละ 5-7 ตัว บางครั้งอาจพบถึง 30 ตัว โดยมีจ่าโขลงเป็นช้างพัง ส่วนช้างพลายชอบอาศัยและออกหากินตามลำพัง ยกเว้นในช่วงฤดูผสมพันธุ์ โขลงช้างมักมีการเคลื่อนย้ายเพื่อออกหาอาหารเป็นระยะทางไกลๆ และมีอาณาเขตกว้างขวางมาก อาหารที่ช้างโปรดปราน ได้แก่ ไผ่ ขิง กล้วยป่า หญ้า เป็นต้น ทางเดินของช้างมีประโยชน์ช่วยทำให้เกิดทางเดินธรรมชาติที่สานต่อกันเป็นโครงข่ายคล้ายร่างแห สามารถใช้ประโยชน์ในการลาดตระเวนของพนักงานพิทักษ์ป่า เป็นทางเดินสำหรับนักท่องเที่ยว จำนวนช้างป่าในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เชื่อกันว่ามีอยู่ราวๆ 140 - 200 ตัว สัตว์ที่พบโดยทั่วไปในอุทยาน ได้แก่ กวางป่า เก้ง กระทิง หมูป่า และเลียงผา ในจำนวนสัตว์กีบเหล่านี้ กวางป่า นับว่าเป็นจุดสนใจมากสำหรับนักท่องเที่ยว ในตอนเย็นจนถึงหัวค่ำ กวางและเก้งมักจะออกมาเล็มหญ้าบริเวณทุ่งหญ้าริมถนน ซึ่งสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และใช้สปอร์ตไลท์ส่องจากรถในเวลากลางคืน ส่วนหมูป่าและกระทิง มักจะอาศัยอยู่ในป่าลึก หากินในบริเวณทุ่งหญ้าเก่า กระทิงในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่มีอยู่กระจัดกระจายทั่วพื้นที่ แต่มีความหนาแน่นค่อนข้างต่ำ และไม่มีผู้ใดทราบจำนวนที่แน่นอน สัตว์จำพวกลิงและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นๆ ที่พบในอุทยาน ได้แก่ ชะนีมือขาว และชะนีมงกุฎ ปกติชะนีทั้งสองชนิดนี้จะแยกกันอยู่ โดยมีอาณาเขตเป็นอิสระต่อกัน แต่ในพื้นที่ป่าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อาจพบอยู่รวมกัน มีคณะผู้สำรวจพบชะนีมือขาวอาสัยอยู่ในป่าบริเวณใกล้ที่ทำการอุทยานฯ และศูนย์ฝึกอบรมที่ 2 (เขาใหญ่) เป็นจำนวนมากถึง 4 ฝูงต่อตารางกิโลเมตร เฉลี่ยฝูงหนึ่งมี 4 ตัว ประกอบด้วย พ่อ แม่ และลูก โดยทั่วไปสามารถพบเห็นได้ตามชายป่า และจากทางเท้าในป่า จากการร้องประสานเสียงประกอบกับการปีนป่ายห้อยโหน ลิงกัง สามารถพบเห็นทั่วไปในป่าอยู่เป็นฝูงอาจมีจำนวนมาก 90 ตัว และมักพบในบริเวณป่าที่ติดกับถนน นางอาย แม้ว่าจะมีอยู่ทั่วไป แต่มักต้องใช้ไฟส่องและมีสายตาที่ไวมากจึงจะมองเห็นได้ สำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นๆ ได้แก่ กระรอก (รวมทั้งพญากระรอกดำ) และชะมดชนิดต่างๆ ชะมดพบเห็นได้ง่ายตามข้างถนนในยามค่ำคืน หมีขอ บางครั้งพบกำลังนอนหลับบนยอดไม้สูงในตอนกลางวัน แมวลายและแมวลายหินอ่อน ซึ่งมีอยู่ไม่มากนัก นานๆครั้งจะเห็นวิ่งข้ามถนนในเวลากลางคืน นอกจากนั้นยังพบว่ามี หมีควาย และ หมาใน แต่จะปรากฏตัวให้เห็นเฉพาะบางครั้งเท่านั้น 2. สัตว์เลื้อยคลาน (Reptile) มีประมาณ 48 ชนิด ที่พบเห็นโดยทั่วไปได้แก่ กิ้งก่าสวน จิ้งเหลนหลากหลาย และงูเขียวหางไหม้ ส่วนงูเห่า และงูจงอาง มีปรากฏให้เห็นบ้างในบางพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณพุ่มไม้ชั้นล่าง 3. สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก (Amphibian) ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มพวก กบ ชนิดต่างๆ เช่น กบนา กบหนอง เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบสัตว์ในกลุ่มอึ่งจิ๋ว เช่น อึ่งขาดำ อึ่งจิ๋ว เป็นต้น 4. นก มีไม่ต่ำกว่า 340 ชนิด ที่น่าสนใจ ได้แก่ นกเงือกกรามช้าง นกกก นกเงือกสีน้ำตาล นกแก๊ก นอกจากนี้ยังมี นกโกโรโกโส นกพญาไฟ นกแต้วแล้วสีน้ำเงิน นกขุนแผน ฯลฯ สำหรับการเดินทางไปยังอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่นั้น สามารถเดินทางได้ 2 เส้นทาง คือ เส้นทางที่ 1 จากกรุงเทพฯ ใช้ถนนพหลโยธิน เลี้ยวขวาบริเวณรังสิต เข้าทางหลวงหมายเลข 305 สู่ตัวเมืองนครนายก จากนั้นเข้าทางหลวงหมายเลข 33 ถึงสี่แยกศาลนเรศวรแล้วเลี้ยวซ้ายตามเส้นทางปราจีนบุรี - เขาใหญ่ ผ่านด่านเก็บค่าธรรมเนียมเนินหอม จากนั้นเดินทางต่อจนถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ รวมระยะทางประมาณ 170 กม. เส้นทางที่ 2 จากกรุงเทพฯ ใช้ถนนพหลโยธิน ผ่านรังสิต ประตูน้ำพระอินทร์ สระบุรี เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2 หรือถนนมิตรภาพ ก่อนถึงอำเภอปากช่อง บริเวณ กม. 56 ชิดซ้ายขึ้นสะพานลอยไปตามถนนธนะรัชต์ทางหลวงหมายเลข 2090 ถึง กม. 23 จะพบด่านศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่ เดินทางต่อไปอีก 15 กม. ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ รวมระยะทางประมาณ 200 กม.
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

ค้นพบโดย

ไปเที่ยวกันมั้ย

0
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ประกอบด้วย เทือกเขาสลับซับซ้อนกัน ได้แก่ เขาร่ม ซึ่งเป็นยอดเขาสูง 1,351 เมตรจากระดับน้ำทะเล รองลงมาได้แก่ เขาแหลม 1,326 เมตร , เขาเขียว 1,292 เมตร , เขาสามยอด 1,142 เมตร และเขาฟ้าผ่า 1,078 เมตร ด้านทิศเหนือและตะวันออกพื้นที่จะลาดลง ทิศใต้และตะวันตกเป็นที่สูงชัน อันเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารที่สำคัญ 5 สาย ดังนี้ - แม่น้ำปราจีน และแม่น้ำนครนายก อยู่ทางทิศใต้ของพื้นที่ มีความสำคัญต่อเกษตรกรรมและระบบทางเศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาคนี้ แม่น้ำทั้งสองจะมาบรรจบกันเป็นแม่น้ำบางปะกง - ลำตะคอง และลำพระเพลิง อยู่ทางทิศเหนือไหลไปหล่อเลี้ยงพื้นที่เกษตรกรรมของที่ราบสูงโคราช ไปบรรจบกันเป็นแม่น้ำบางปะกง - ห้วยมวกเหล็ก อยู่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ใช้ประโยชน์ด้านการเกษตร โดยเฉพาะการปศุสัตว์ของภูมิภาคนี้ ไหลลงสู่แม่น้ำป่าสักที่อำเภอมวกเหล็ก อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่มีสภาพป่าที่รกทึบ และได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมทำให้เกิดฝนตกชุกตามฤดูกาล อากาศไม่ร้อนจัด และหนาวจัดจนเกินไป เหมาะแก่การท่องเที่ยวและประกอบกิจกรรมนันทนาการชนิดต่างๆ อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดอยู่ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม ประมาณ 28 องศาเซลเซียส ในเืดือนธันวาคมและเดือนมกราคม มีอุณหภูมิประมาณ 17 องศาเซลเซียส และมีความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เท่ากับ 66 เปอร์เซ็นต์ - ฤดูร้อน : แม้ว่าอากาศจะร้อนอบอ้าวกว่าในที่อื่น แต่ที่เขาสูงบนเขาใหญ่อากาศเย็นสบายเหมาะแก่การพักผ่อน - ฤดูฝน : เป็นช่วงที่สภาพธรรมชาติ ป่าไม้ และทุ่งหญ้าเขียวขจี สวยงาม น้ำตกต่างๆจะมีสายน้ำที่ไหลหลากและเชี่ยวกราก - ฤดูหนาว : ช่วงเดือนตุลาคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์ เป็นฤดูที่นักท่องเที่ยวมากที่สุด อากาศค่อนข้างเย็น โดยเฉพาะบริเวณเขาสูง ปริมาณน้ำฝน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ วัดได้ 2,270 มิลลิเมตร ที่บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ พื้นที่ที่ได้รับปริมาณน้ำฝนมากที่สุดอยู่บริเวณลุ่มน้ำคลองท่าด่าน ซึ่งเป็นบริเวณด้านทิศใต้ของเขาเขียวและเขาร่ม โดยวัดปริมาณน้ำฝนได้ถึง 3,000 มิลลิเมตรต่อปี ส่วนบริเวณที่รับน้ำฝนน้อยที่สุดคือ พื้นที่ด้านล่างสุดของทิศตะวันตกเฉียงใต้และทิศใต้ โดยมีฝนตกเฉลี่ยต่อปี 1,600 มิลลิเมตร หรือน้อยกว่า โดยปกติฝนจะตกมากที่สุดระหว่างกลางเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ส่วนช่วงที่ปริมาณน้ำฝนน้อยที่สุด คือ ระหว่างเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม โดยมีปริมาณฝนตกเฉลี่ยประมาณเดือนละ 15 มิลลิเมตร ป่าไม้ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1,229,789.63 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 91.47 ของพื้นที่ มีพันธุ์ไม้จำนวนมากถึง 2,000 - 3,000 ชนิด ทั้งนี้เพราะพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่มีขนาดใหญ่ เป็นจุดรวมการแพร่กระจายพันธุ์ของพืชต่างๆ มีความหลากหลายของชนิดพรรณพิชดังนี้ - พรรณไม้ จำนวน 209 ชนิด - กล้วยไม้ จำนวน 120 ชนิด - ไลเคน จำนวน 108 ชนิด 1. ป่าดิบเขา (Hill Evergreen Forest) อยู่ในที่ที่มีอากาศเย็น สูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไป พบที่บริเวณเขาเขียว วึ่งอยู่ตอนกลางของอุทยาน มีพื้นที่ประมาณ 21,938.71 ไร่ หรือร้อยละ 1.63 ของพื้นที่ป่าทั้งหมด ไม้ที่พบเป็นไม้เนื้ออ่อน เช่น พญาไม้ มะขามป้อมดง ขุนไม้ และสนสามพันปี มีไม้จำพวกก่อขึ้นอยู่ด้วย ได้แก่ ก่อน้ำ และก่อด่าง ตามสันเขายังพบพรรณไม้พวกกำลังเสือโคร่ง ไม้ชั้นรองของป่าดิบเขาประกอบด้วย เก็ดส้าน ส้มแปะ แกนมอ เพลาจังหัน และหว้า พืชชั้นล่างเป็นพวกไม้พุ่มชนิดต่างๆ เช่น กาลังกาสาตัวผู้ นอกจากนี้ยังมีกูด และกล้วยไม้ดินหลายชนิด ตามลำต้นและกิ่งก้านของต้นไม้ป่าดิบเขา จะถูกปกคลุมด้วย กล้วยไม้ และตะไคร่น้ำต่างๆ 2. ป่าดิบชื้น (Moist Evergreen Forest) อยู่ในระดับความสูง 400 - 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล ครอบคลุมพื้นที่มากที่สุดของอุทยาน คือ 892,162.48 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 66.36 ของพื้นที่ป่าทั้งหมด ริมลำธารจะมีหวายและเฟิร์นขึ้นอยู่เป็นกลุ่ม สูงขึ้นไปจะมีไม้ยาง และไม้ชั้นบน เช่น เคี่ยมคะนอง ปรก บรมือ ไม้ชั้นรอง ได้แก่ ก่อต่างๆ 3. ป่าดิบแล้ง (Dry Evergreen Forest) อยู่ในระดับความสูง 200 - 600 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีพื้นที่ประมาณ 1,192.88 ไร่ หรือร้อยละ 0.9 ของพื้นที่ป่าทั้งหมด ไม้ชั้นบน ได้แก่ ยางนา พันจำ เคี่ยมคะนอง ตะเคียนทอง ตะเคียนหิน ตะแบกใหญ่ สมพง สองสลึง ปออีเก้ง เป็นต้น ไม้ยืนต้นชั้นรอง เช่น กะเบากลัก กัดลิ้น พืชจำพวกปาล์ม เช่น หมากลิง และลาน พืชชั้นล่างประกอบด้วย มะพร้าว นกคุ้ม พวกขิง ข่า และเตย เป็นต้น 4. ป่าเบญจพรรณ (Mixed Deciduous Forest) พบในระดับความสูงประมาณ 400 - 600 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีพื้นที่โดยประมาณ 185,275.91 ไร่ หรือร้อยละ 13.78 ของพื้นที่ป่าทั้งหมด ปรากฏส่วนใหญ่ในทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประกอบด้วยไม้ยืนต้นผลัดใบ เช่น มะค่าโมง ประดู่ ตะแบก ตะเคียนหนู แดง เป็นต้น พืชชั้นล่างมี ไม้ไผ่ และหญ้าต่างๆ ตามพื้นป่าจะมีหินปูนผลุดขึ้นทั่วๆไป ในฤดูแล้งป่าชนิดนี้จะมีไฟไหม้ลุกลามอยู่เสมอ จะสังเกตได้จากมีไผ่ป่า เป็นปริมาณมากตามลาดเขาและกล้วยป่าขึ้นหนาแน่นตามหุบห้วย 5. ป่าเต็งรัง ขึ้นอยู่บนเขาสมอปูน ที่มีลักษณะเป็นที่ราบบนสันเขาผสมพลาญหิน พรรณพืชที่สำคัญ ได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง และยางกราด 6. ทุ่งหญ้าและป่ารุ่นสอง มีพื้นที่ประมาณ 70.15 ไร่ และ 129,219.65 ไร่ ตามลำดับ สภาพป่าเช่นนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากการทำไร่เลื่อนลอยในอดีต เพราะก่อนหน้าที่จะมีการประกาศพื้นที่นี้เป็นอุทยานแห่งชาติ ได้มีประชาชนอพยพขึ้นไปอาศัยอยู่ จึงได้เกิดสภาพป่าเช่นนี้ขึ้น ตามทุ่งหญ้านั้นพืชส่วนใหญ่เป็นหญ้าคา มีหญ้าแขม หญ้ากง หญ้าผลตาช้าง และหญ้าโขมงขึ้นแทรก นอกจากนี้ก็มีผีกกูดบางชนิดที่ชอบขึ้นตามบริเวณที่ถูกไฟไหม้เป็นประจำ เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังจากที่ได้ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติมาได้เป็นเวลากว่า 10 ปีนั้น ทุ่งหญ้าบางแห่งที่ได้ป้องกันไม่ให้ไฟลามเข้ามาไหม้นั้น ได้กลับฟื้นขึ้นมาเป็นสภาพป่าละเมาะ ซึ่งในกาลต่อไปย่อมจะฟื้นกลับขึ้นเป็นป่าได้ดังเดิม สำหรับตามสองข้างถนนนั้น เนื่องจากไม่มีการก่อสร้างขยายวงออกไป จึงได้มีพันธุ์ไม้โตเร็วชนิดต่างๆ ขึ้นปกคลุม เช่น ไม้ตองแตม และปอหู เป็นต้น ส่วนในด้านของสังคมสัตว์ ด้วยสภาพป่าที่มีความหลากหลาย เป็นแหล่งพักพิงอาศัย และแหล่งอาหาร อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่จึงชุกชุมไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด ดังนี้ 1. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีประมาณ 71 ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบเห็นได้บ่อยและเป็นที่ดึงดูดใจนักท่องเที่ยว ได้แก่ ช้างป่า เก้ง กวาง เป็นต้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ และเป็นชนิดที่สำคัญของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ได้แก่ ช้างป่า เสือโคร่ง เสือลายเมฆ กระทิง ชะนีมือขาว และชะนีมงกุฎ เป็นต้น ช้างป่า เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สำคัญมากชนิดหนึ่งของเขาใหญ่ และเป็นที่สนใจของบรรดานักท่องเที่ยวผู้มาเยือนเป็นอย่างมาก มักพบอยู่เป็นโขลง โขลงละ 5-7 ตัว บางครั้งอาจพบถึง 30 ตัว โดยมีจ่าโขลงเป็นช้างพัง ส่วนช้างพลายชอบอาศัยและออกหากินตามลำพัง ยกเว้นในช่วงฤดูผสมพันธุ์ โขลงช้างมักมีการเคลื่อนย้ายเพื่อออกหาอาหารเป็นระยะทางไกลๆ และมีอาณาเขตกว้างขวางมาก อาหารที่ช้างโปรดปราน ได้แก่ ไผ่ ขิง กล้วยป่า หญ้า เป็นต้น ทางเดินของช้างมีประโยชน์ช่วยทำให้เกิดทางเดินธรรมชาติที่สานต่อกันเป็นโครงข่ายคล้ายร่างแห สามารถใช้ประโยชน์ในการลาดตระเวนของพนักงานพิทักษ์ป่า เป็นทางเดินสำหรับนักท่องเที่ยว จำนวนช้างป่าในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เชื่อกันว่ามีอยู่ราวๆ 140 - 200 ตัว สัตว์ที่พบโดยทั่วไปในอุทยาน ได้แก่ กวางป่า เก้ง กระทิง หมูป่า และเลียงผา ในจำนวนสัตว์กีบเหล่านี้ กวางป่า นับว่าเป็นจุดสนใจมากสำหรับนักท่องเที่ยว ในตอนเย็นจนถึงหัวค่ำ กวางและเก้งมักจะออกมาเล็มหญ้าบริเวณทุ่งหญ้าริมถนน ซึ่งสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และใช้สปอร์ตไลท์ส่องจากรถในเวลากลางคืน ส่วนหมูป่าและกระทิง มักจะอาศัยอยู่ในป่าลึก หากินในบริเวณทุ่งหญ้าเก่า กระทิงในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่มีอยู่กระจัดกระจายทั่วพื้นที่ แต่มีความหนาแน่นค่อนข้างต่ำ และไม่มีผู้ใดทราบจำนวนที่แน่นอน สัตว์จำพวกลิงและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นๆ ที่พบในอุทยาน ได้แก่ ชะนีมือขาว และชะนีมงกุฎ ปกติชะนีทั้งสองชนิดนี้จะแยกกันอยู่ โดยมีอาณาเขตเป็นอิสระต่อกัน แต่ในพื้นที่ป่าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อาจพบอยู่รวมกัน มีคณะผู้สำรวจพบชะนีมือขาวอาสัยอยู่ในป่าบริเวณใกล้ที่ทำการอุทยานฯ และศูนย์ฝึกอบรมที่ 2 (เขาใหญ่) เป็นจำนวนมากถึง 4 ฝูงต่อตารางกิโลเมตร เฉลี่ยฝูงหนึ่งมี 4 ตัว ประกอบด้วย พ่อ แม่ และลูก โดยทั่วไปสามารถพบเห็นได้ตามชายป่า และจากทางเท้าในป่า จากการร้องประสานเสียงประกอบกับการปีนป่ายห้อยโหน ลิงกัง สามารถพบเห็นทั่วไปในป่าอยู่เป็นฝูงอาจมีจำนวนมาก 90 ตัว และมักพบในบริเวณป่าที่ติดกับถนน นางอาย แม้ว่าจะมีอยู่ทั่วไป แต่มักต้องใช้ไฟส่องและมีสายตาที่ไวมากจึงจะมองเห็นได้ สำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นๆ ได้แก่ กระรอก (รวมทั้งพญากระรอกดำ) และชะมดชนิดต่างๆ ชะมดพบเห็นได้ง่ายตามข้างถนนในยามค่ำคืน หมีขอ บางครั้งพบกำลังนอนหลับบนยอดไม้สูงในตอนกลางวัน แมวลายและแมวลายหินอ่อน ซึ่งมีอยู่ไม่มากนัก นานๆครั้งจะเห็นวิ่งข้ามถนนในเวลากลางคืน นอกจากนั้นยังพบว่ามี หมีควาย และ หมาใน แต่จะปรากฏตัวให้เห็นเฉพาะบางครั้งเท่านั้น 2. สัตว์เลื้อยคลาน (Reptile) มีประมาณ 48 ชนิด ที่พบเห็นโดยทั่วไปได้แก่ กิ้งก่าสวน จิ้งเหลนหลากหลาย และงูเขียวหางไหม้ ส่วนงูเห่า และงูจงอาง มีปรากฏให้เห็นบ้างในบางพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณพุ่มไม้ชั้นล่าง 3. สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก (Amphibian) ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มพวก กบ ชนิดต่างๆ เช่น กบนา กบหนอง เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบสัตว์ในกลุ่มอึ่งจิ๋ว เช่น อึ่งขาดำ อึ่งจิ๋ว เป็นต้น 4. นก มีไม่ต่ำกว่า 340 ชนิด ที่น่าสนใจ ได้แก่ นกเงือกกรามช้าง นกกก นกเงือกสีน้ำตาล นกแก๊ก นอกจากนี้ยังมี นกโกโรโกโส นกพญาไฟ นกแต้วแล้วสีน้ำเงิน นกขุนแผน ฯลฯ สำหรับการเดินทางไปยังอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่นั้น สามารถเดินทางได้ 2 เส้นทาง คือ เส้นทางที่ 1 จากกรุงเทพฯ ใช้ถนนพหลโยธิน เลี้ยวขวาบริเวณรังสิต เข้าทางหลวงหมายเลข 305 สู่ตัวเมืองนครนายก จากนั้นเข้าทางหลวงหมายเลข 33 ถึงสี่แยกศาลนเรศวรแล้วเลี้ยวซ้ายตามเส้นทางปราจีนบุรี - เขาใหญ่ ผ่านด่านเก็บค่าธรรมเนียมเนินหอม จากนั้นเดินทางต่อจนถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ รวมระยะทางประมาณ 170 กม. เส้นทางที่ 2 จากกรุงเทพฯ ใช้ถนนพหลโยธิน ผ่านรังสิต ประตูน้ำพระอินทร์ สระบุรี เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2 หรือถนนมิตรภาพ ก่อนถึงอำเภอปากช่อง บริเวณ กม. 56 ชิดซ้ายขึ้นสะพานลอยไปตามถนนธนะรัชต์ทางหลวงหมายเลข 2090 ถึง กม. 23 จะพบด่านศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่ เดินทางต่อไปอีก 15 กม. ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ รวมระยะทางประมาณ 200 กม.

กิจกรรม หรือ event อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานที่นี้

STAMM Book

ไม่พบ STAMM Book

Review

ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่