เลือกบทสวดมนต์

บทที่ ๑ บทชุมนุมเทวดา

เป็นบทที่อัญเชิญเทวดามาร่วมฟังพระปริตร หรือมาร่วมในพิธี โดยขอให้เทวดามีความสุข ปราศจากทุกข์ และช่วยคุ้มครองมนุษย์ให้พ้นภัย

เป็นบทที่อัญเชิญเทวดามาร่วมฟังพระปริตร หรือมาร่วมในพิธี โดยขอให้เทวดามีความสุข ปราศจากทุกข์ และช่วยคุ้มครองมนุษย์ให้พ้นภัย

บทที่ ๒ บทนอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า

เป็นบทที่ถวายความเคารพแด่พระพุทธเจ้า ถึงแม้ว่าพระองค์จะเสด็จปรินิพพานไปแล้วแต่พระคุณยังคงอยู่มิได้ล่วงลับตามพระองค์ไป

เป็นบทที่ถวายความเคารพแด่พระพุทธเจ้า ถึงแม้ว่าพระองค์จะเสด็จปรินิพพานไปแล้วแต่พระคุณยังคงอยู่มิได้ล่วงลับตามพระองค์ไป

บทที่ ๓ บทพระไตรสรณคมน์

เริ่มแรกเป็นบทที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติขึ้นในพิธีบรรพชาอุปสมบท ต่อมาได้นำมาใช้ในการเริ่มต้นพิธีกรรมทางพุทธศาสนาทั่วไป เป็นบทที่แสดง

เริ่มแรกเป็นบทที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติขึ้นในพิธีบรรพชาอุปสมบท ต่อมาได้นำมาใช้ในการเริ่มต้นพิธีกรรมทางพุทธศาสนาทั่วไป เป็นบทที่แสดงถึงการยอมรับพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก

บทที่ ๔ นมการสิทธิคาถา

บทนมัสการพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีต เป็นบทนมัสการเก่าที่พระสงฆ์ใช้เจริญมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

บทนมัสการพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีต เป็นบทนมัสการเก่าที่พระสงฆ์ใช้เจริญมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

บทที่ ๕ นมการสิทธิคาถา (โย จักขุมา)

คาถานมัสการพระรัตนตรัย เพื่อให้สำเร็จในสิ่งปรารถนา

คาถานมัสการพระรัตนตรัย เพื่อให้สำเร็จในสิ่งปรารถนา

บทที่ ๖ นโมการอัฏฐกคาถา

บทนอบน้อมพระรัตนตรัย เพื่อให้เกิดเดชานุภาพ ในการเจริญพระพุทธมนต์

บทนอบน้อมพระรัตนตรัย เพื่อให้เกิดเดชานุภาพ ในการเจริญพระพุทธมนต์

บทที่ ๗ บทธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

บทที่มีความสำคัญยิ่ง เพราะเป็นพระธรรมเทศนากัณฑ์แรกที่พระพุทธองค์ทรงแสดง มีความหมายว่า ทำกงล้อแห่งธรรมให้หมุนไป คือ การนำพระพุทธศาส

บทที่มีความสำคัญยิ่ง เพราะเป็นพระธรรมเทศนากัณฑ์แรกที่พระพุทธองค์ทรงแสดง มีความหมายว่า ทำกงล้อแห่งธรรมให้หมุนไป คือ การนำพระพุทธศาสนาให้แผ่ขยายไปทั่วทุกทิศ

บทที่ ๘ บทมงคลสูตร

บทที่ว่าด้วยมงคล พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนถึงหลักธรรมที่นำความสุข ความเจริญ ซึ่งเรียกว่า มงคลอันสูงสุด ๓๘ ประการ เมื่อบุคคลประพฤติปฏิบ

บทที่ว่าด้วยมงคล พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนถึงหลักธรรมที่นำความสุข ความเจริญ ซึ่งเรียกว่า มงคลอันสูงสุด ๓๘ ประการ เมื่อบุคคลประพฤติปฏิบัติตามจะเป็นผู้ไม่พ่ายแพ้ ประสบความสำเร็จในทุกที่

บทที่ ๙ บทรตนสูตร

บทที่แสดงอานุภาพของพระรัตนตรัยโดยตรงเมื่อเทวดาและมนุษย์รู้คุณค่าของพระรัตนตรัย ยอมรับนับถือ บูชาพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึกแล้ว

บทที่แสดงอานุภาพของพระรัตนตรัยโดยตรงเมื่อเทวดาและมนุษย์รู้คุณค่าของพระรัตนตรัย ยอมรับนับถือ บูชาพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึกแล้วย่อมก่อให้เกิดพลังใจในการต่อสู้ ฟันฝ่าเพื่อชัยชนะต่ออุปสรรค ปัญหาตลอดจนภัยทั้งหลายทั้งปวงได้

บทที่ ๑๐ บทกรณียเมตตสูตร

บทที่ว่าด้วยการเจริญเมตตา พระพุทธเจ้าตรัสมุ่งหมายการแผ่จิตที่เกื้อกูล ปรารถนาดีให้แก่ตนเองและสรรพสัตว์ ปรารถนาให้ตนเองและสรรพสัตว์

บทที่ว่าด้วยการเจริญเมตตา พระพุทธเจ้าตรัสมุ่งหมายการแผ่จิตที่เกื้อกูล ปรารถนาดีให้แก่ตนเองและสรรพสัตว์ ปรารถนาให้ตนเองและสรรพสัตว์ไม่มีเวรต่อกัน ไม่เบียดเบียนกัน มีแต่สุข ไร้ทุกข์ ปราศจากความขุ่นเคืองใจ ไร้พยาบาท

บทที่ ๑๑ บทขันธปริตร

บทที่มีความหมายว่า บทสวดป้องกันพญางู ส่วนสาเหตุที่ตั้งชื่อว่า ขันธปริตร นั้น อาจหมายถึง มนต์ป้องกันตัว (จากพญางู) ทั้งนี้ เนื่องจา

บทที่มีความหมายว่า บทสวดป้องกันพญางู ส่วนสาเหตุที่ตั้งชื่อว่า ขันธปริตร นั้น อาจหมายถึง มนต์ป้องกันตัว (จากพญางู) ทั้งนี้ เนื่องจากขันธ แปลว่า ตัว หรือกาย นั่นเอง ในปริตรนี้ พระพุทธเจ้าตรัสสอนเรื่องเมตตากรุณา

บทที่ ๑๒ บทเมตตานิสังสสุตตปาฐะ

เมตตานิสังสสุตตปาฐะ กล่าวถึงอานิสงส์ของการเจริญเมตตาว่ามีทั้งสิ้น ๑๑ ประการ กล่าวคือ หลับก็เป็นสุข, ตื่นก็เป็นสุข, ไม่ฝันเห็นสิ่งล

เมตตานิสังสสุตตปาฐะ กล่าวถึงอานิสงส์ของการเจริญเมตตาว่ามีทั้งสิ้น ๑๑ ประการ กล่าวคือ หลับก็เป็นสุข, ตื่นก็เป็นสุข, ไม่ฝันเห็นสิ่งลามก, เป็นที่รักของมนุษย์, เป็นที่รักของอมนุษย์, เทวดาย่อมรักษา, ไฟ ยาพิษ หรือศัสตราไม่กล้ำกราย, จิตย่อมตั้งมั่นโดยรวดเร็ว, สีหน้าย่อมผ่องใส, เป็นผู้ไม่หลงใหลเมื่อจะตาย, เมื่อยังไม่ถึงพระนิพพานย่อมไปบังเกิดในพรหมโลก

บทที่ ๑๓ บทโมรปริตร

โมรปริตร คือปริตรที่นกยูงทองโพธิสัตว์สาธยายเป็นประจำกล่าวถึงคุณของพระพุทธเจ้าแล้วน้อมพระพุทธคุณมาพิทักษ์คุ้มครองให้มีความสวัสดี มี

โมรปริตร คือปริตรที่นกยูงทองโพธิสัตว์สาธยายเป็นประจำกล่าวถึงคุณของพระพุทธเจ้าแล้วน้อมพระพุทธคุณมาพิทักษ์คุ้มครองให้มีความสวัสดี มีประวัติตำนานความเป็นมาว่าสมัยหนึ่ง ครั้งพระบรมศาสดา เสวยพระชาติเป็นนกยูงทองโพธิสัตว์ อาศัยอยู่บนเขา ใกล้ป่าหิมพานต์ ในครั้งนั้น ก่อนจะบินไปหาอาหารในตอนเช้า นกยูงทองพระโพธิสัตว์จะบินขึ้นไปจับบนยอดภูเขามองดูพระอาทิตย์ที่กำลังขึ้น แล้วสาธยายพระปริตรนมัสการพระอาทิตย์โดยร่ายมนต์สาธยายสองคาถาแรกว่า อุเทตะยัญจักขุมา เป็นต้น และนอบน้อมบูชาพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วพร้อมทั้งระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าเหล่านั้นด้วย แล้วจึงบินออกไปหาอาหาร

บทที่ ๑๔ บทจันทปริตตปาฐะ

จันทปริตตปาฐะ เป็นการประกาศขอให้พระพุทธองค์ทรงเป็นที่พึ่ง แล้วย่อมรอดพ้นจากภยันตรายทั้งปวง ผู้ปองร้ายจักแพ้พ่ายไป ดุจจันทิมเทวบุตร

จันทปริตตปาฐะ เป็นการประกาศขอให้พระพุทธองค์ทรงเป็นที่พึ่ง แล้วย่อมรอดพ้นจากภยันตรายทั้งปวง ผู้ปองร้ายจักแพ้พ่ายไป ดุจจันทิมเทวบุตรผู้ประกาศว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นที่พึ่งจึงได้พ้นภัยจากอสุรินทราหู ด้วยพระพุทธานุภาพ

บทที่ ๑๕ บทสุริยปริตตปาฐะ

บทที่ประกาศขอให้พระพุทธองค์เป็นที่พึ่งเสมือนสุริยเทพบุตรประกาศว่ามีพระพุทธองค์เป็นที่พึ่ง ทำให้พ้นภัยจากอสุรินทราหูด้วยพุทธานุภาพ

บทที่ประกาศขอให้พระพุทธองค์เป็นที่พึ่งเสมือนสุริยเทพบุตรประกาศว่ามีพระพุทธองค์เป็นที่พึ่ง ทำให้พ้นภัยจากอสุรินทราหูด้วยพุทธานุภาพ

บทที่ ๑๖ บทวัฏฏกปริตร

บทที่หมายถึงปริตรของนกคุ่ม คือ เมื่อพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นนกคุ่มได้ระลึกถึงพระพุทธเจ้าในอดีต ระลึกถึงพระธรรมคุณตั้งสัจจาธิษฐา

บทที่หมายถึงปริตรของนกคุ่ม คือ เมื่อพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นนกคุ่มได้ระลึกถึงพระพุทธเจ้าในอดีต ระลึกถึงพระธรรมคุณตั้งสัจจาธิษฐานขอให้ไฟป่ามอดดับ

บทที่ ๑๗ บทอนุสสรณปาฐะ

บทพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ

บทพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ

บทที่ ๑๘ บทอาฏานาฏิยปริตร

บทที่กล่าวนมัสการพระพุทธเจ้าในอดีตทั้งหลายจนถึง องค์ปัจจุบัน ต่อจากนั้นก็บรรยายถึงท้าวมหาราชทั้ง ๔ ว่าใครเป็นอะไร มีหน้าที่อะไร แล

บทที่กล่าวนมัสการพระพุทธเจ้าในอดีตทั้งหลายจนถึง องค์ปัจจุบัน ต่อจากนั้นก็บรรยายถึงท้าวมหาราชทั้ง ๔ ว่าใครเป็นอะไร มีหน้าที่อะไร และสุดท้าย ก็สรุปพระคุณของพระรัตนตรัย เชื่อกันว่า ผู้ใดสวดอาฏานาฏิยรักขาแล้ว บรรดายักษ์และภูตผีปีศาจทั้งหลายจะไม่ทำอันตรายและคุ้มครองรักษาให้ปลอดภัย

บทที่ ๑๙ บทอังคุลิมาลปริตร

บทที่เป็นคำกล่าวของพระองคุลิมาลที่กล่าวว่าเมื่อได้เกิดในอริยชาติแล้ว ไม่เคยจงใจฆ่าเลย และด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอให้ผู้ที่อยู่ในค

บทที่เป็นคำกล่าวของพระองคุลิมาลที่กล่าวว่าเมื่อได้เกิดในอริยชาติแล้ว ไม่เคยจงใจฆ่าเลย และด้วยการกล่าวคำสัตย์นี้ ขอให้ผู้ที่อยู่ในครรภ์จงมีแต่ความสวัสดี

บทที่ ๒๐ บทโพชฌังคปริตร

บทที่ว่าด้วยองค์ธรรมที่เป็นไปเพื่อตรัสรู้ มี ๗ ประการ คือ (๑) สติ ความระลึกได้ (๒) ธัมมวิจยะ ความสอดส่องธรรม (๓) วิริยะ ความเพียร

บทที่ว่าด้วยองค์ธรรมที่เป็นไปเพื่อตรัสรู้ มี ๗ ประการ คือ (๑) สติ ความระลึกได้ (๒) ธัมมวิจยะ ความสอดส่องธรรม (๓) วิริยะ ความเพียร (๔) ปีติ ความอิ่มเอมใจ (๕) ปัสสัทธิ ความสงบใจ (๖) สมาธิ ความตั้งใจมั่น (๗) อุเบกขา ความวางเฉย

บทที่ ๒๑ บทอภยปริตร

บทที่เป็นการขอให้ลางร้าย สิ่งไม่เป็นมงคล เสียงนกเสียงกา ที่ไม่เป็นมงคล บาปเคราะห์ ฝันร้ายพินาศไปด้วยพุทธานุภาพ ธรรมานุภาพและสังฆาน

บทที่เป็นการขอให้ลางร้าย สิ่งไม่เป็นมงคล เสียงนกเสียงกา ที่ไม่เป็นมงคล บาปเคราะห์ ฝันร้ายพินาศไปด้วยพุทธานุภาพ ธรรมานุภาพและสังฆานุภาพ ตอนกลาง เป็นการอัญเชิญเหล่าเทพยดาที่ได้อัญเชิญมาร่วมในงานมงคลร่วมฟังสวด ร่วมรับสิ่งที่เป็นมงคลกลับวิมานไป และขอให้เทพยดาทั้งหลายได้ให้ทานรักษาศีล เจริญภาวนา และตอนท้ายเป็นการขอให้อานุภาพของพระพุทธเจ้าพระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันต์ทั้งหมดปกป้องคุ้มครองรักษา

บทที่ ๒๒ บทสักกัต์วา

บทที่สรรเสริญพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ว่ายอดเยี่ยม และด้วยเดชแห่งพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ขอให้สิ่งไม่ดีมลายสูญไป

บทที่สรรเสริญพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ว่ายอดเยี่ยม และด้วยเดชแห่งพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ขอให้สิ่งไม่ดีมลายสูญไป

บทที่ ๒๓ บทนัตถิ เม

บทที่ว่าด้วยที่พึ่งอันประเสริฐ คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์

บทที่ว่าด้วยที่พึ่งอันประเสริฐ คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์

บทที่ ๒๔ บทยังกิญจิ

บทที่ว่าด้วยรัตนะหรือสิ่งมีค่าในโลกนี้ คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์

บทที่ว่าด้วยรัตนะหรือสิ่งมีค่าในโลกนี้ คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์

บทที่ ๒๕ บทมงคลจักรวาลใหญ่

บทที่อ้างอานุภาพพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ให้กำจัดทุกข์โศกโรคภัยทั้งปวง

บทที่อ้างอานุภาพพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ให้กำจัดทุกข์โศกโรคภัยทั้งปวง

บทที่ ๒๖ บทรตนนัตตยัปปภาวาภิยาจนคาถา

บทที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประพันธ์ขึ้น เป็นคาถาที่ขอให้อานุภาพของพระรัตนตรัยขจัดอุปสรรคทั้งปวง ความสวัสดีมีแก่ประเ

บทที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประพันธ์ขึ้น เป็นคาถาที่ขอให้อานุภาพของพระรัตนตรัยขจัดอุปสรรคทั้งปวง ความสวัสดีมีแก่ประเทศไทย และขอให้เทวดาคุ้มครองรักษา

บทที่ ๒๗ บทสุขาภิยาจนคาถา

สุขาภิยาจนคาถา เป็นคาถาที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฉิม) วัดโมลีโลกยาราม แต่งขึ้น โดยอ้างอานุภาพพระปริตรที่ได้สวดสาธยายแล้วนั้น เพื่

สุขาภิยาจนคาถา เป็นคาถาที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฉิม) วัดโมลีโลกยาราม แต่งขึ้น โดยอ้างอานุภาพพระปริตรที่ได้สวดสาธยายแล้วนั้น เพื่อให้เกิดความสุขสิริสวัสดิ์ในราชตระกูล ขอให้เทพยดาทั้งมวลคุ้มครองรักษา ให้ฝนตกต้องตามฤดูกาลเกิดความผาสุขร่มเย็นแก่อาณาประชาราษฎร์ทั้งมวล

บทที่ ๒๘ บทเทวดาอุยโยชนคาถา

บทที่ว่าด้วยการขอให้สรรพสัตว์พ้นทุกข์และเหล่าเทวดาที่มาร่วมอนุโมทนาบุญ ขอให้กลับไป

บทที่ว่าด้วยการขอให้สรรพสัตว์พ้นทุกข์และเหล่าเทวดาที่มาร่วมอนุโมทนาบุญ ขอให้กลับไป

บทที่ ๒๙ บทพุทธชัยมงคลคาถา (พาหุง)

บทถวายพรพระ บทที่ว่าด้วยชัยชนะ ๘ ประการอันเป็นมงคลของพระพุทธเจ้า

บทถวายพรพระ บทที่ว่าด้วยชัยชนะ ๘ ประการอันเป็นมงคลของพระพุทธเจ้า

บทที่ ๓๐ บทชยปริตร

บทที่สวดเพื่อให้เกิดชัยมงคลในการทำพิธีมงคลต่าง ๆ

บทที่สวดเพื่อให้เกิดชัยมงคลในการทำพิธีมงคลต่าง ๆ

บทที่ ๓๑ บทภวตุ สัพพะมังคลัง

บทที่อ้างอานุภาพพระรัตนตรัยให้เกิดสรรพมงคล เทพยดารักษาให้บังเกิดความสุขสวัสดี

บทที่อ้างอานุภาพพระรัตนตรัยให้เกิดสรรพมงคล เทพยดารักษาให้บังเกิดความสุขสวัสดี

บทที่ ๓๒ บทนักขัตตยักข์

บทที่อ้างอานุภาพพระปริตรที่ได้สวดแล้ว ให้กำจัดอุปัทวันตรายและบาปเคราะห์ทั้งหลาย

บทที่อ้างอานุภาพพระปริตรที่ได้สวดแล้ว ให้กำจัดอุปัทวันตรายและบาปเคราะห์ทั้งหลาย

บทที่ ๓๓ บทชัยมงคลคาถา

บทคาถาสวดเพื่อให้เกิดมีชัยมงคลในการทำพิธีมงคลต่าง ๆ โดยกล่าวถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าที่ทรงมีพระกรุณาเป็นที่พึ่งของสรรพสัตว์ เป็นสัจ

บทคาถาสวดเพื่อให้เกิดมีชัยมงคลในการทำพิธีมงคลต่าง ๆ โดยกล่าวถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าที่ทรงมีพระกรุณาเป็นที่พึ่งของสรรพสัตว์ เป็นสัจวาจาให้เกิดชัยมงคลในมงคลพิธี ดังที่พระองค์ได้ทรงชนะมารที่โคนโพธิพฤกษ์

จำนวนผู้เข้าชม ๒๔,๒๔๐